หน่วยที่6

หน่วยที่6 นวัตกรรมการเรียนการสอน


นวัตกรรมการเรียนการสอน
                   ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู  อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ความหมายของโครงงาน
กระทรวงศึกษาธิการ      
การกระทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครู ตั้งแต่การคิดสร้างโครงงาน การวางแผน ดำเนินการ การออกแบบ   ลงมือปฏิบัติรวมทั้งกำหนด แนวทางในการวัดผลและประเมินผล   
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง

 ลักษณะเด่น

การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความ
สนใจ ความถนัดและความสามารถของตนเอง โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือ
กระบวนการอื่นๆ ที่เป็นระบบเพื่อหาคา ตอบภายใต้คา แนะนา ของครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้เรียน
จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคา ตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรง
จากแหล่งเรียนรู้
  แนวคิด                
การ สอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
วัตถุประสงค์      
 การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง
ประเภทของโครงงาน
1. โครงงานแบบสำรวจ
2. โครงงานแบบทดลอง
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานทฤษฎี
การได้มาซึ่งโครงงาน
1. ปัญหาใกล้ตัว
2. ความสนใจส่วนตัว
3. คำบอกเล่า
4. การตั้งคำถามของครู
5.  ปัญหาในโรงเรียน/ท้องถิ่น
6.  การสังเกต
7.  ทดลองเล่น
8.  ฝึกตั้งปัญหา
9.  โครงงานอื่นที่เคยมีผู้ทำไว้
10.  ความรู้ในวิชาต่างๆ
รูปแบบการจัดทำโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. คณะทำงาน
3. ที่ปรึกษา
4. แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
5. วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7. แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
8. วัสดุ  อุปกรณ์
9. งบประมาณ
10. ระยะเวลาการดำเนินงาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
12. เอกสารอ้างอิง หรือ บรรณานุกรม
ขั้นตอนในการสอนทำโครงงาน     
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี  4  ขั้นตอน คือ
1. กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2. วางแผนหรือวางโครงงาน  นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร  ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด  จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. ขั้นดำเนินการ  ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. ประเมินผล  โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่  มีข้อบกพร่อง  และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
 วิธีการทำโครงงาน
1. ประชุมปรึกษาหารือ  เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน  จากสิ่งต่อไปนี้
- การสังเกต หรือตามที่สงสัย
- ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
- จากปัญหาใกล้ตัว  หรือการเล่น
- คำบอกเล่าของผู้ใหญ่  หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ  เหตุผล  ที่มาของโครงงาน
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น  การสำรวจ  การทดลอง  เป็นต้น
5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา   โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน  ให้ครอบคลุม  น่าสนใจ
การประเมินผลการทำโครงงาน        ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
 วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
1.       อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา โดยอาจารย์ไม่สอน แต่แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและ    แก้ปัญหา  นักศึกษาจะต้องอ่านหนังสือมาก่อน  นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง  ซึ่งการวัดผล จะต้องใช้  ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร
2.       การเรียนแบบโครงงาน  โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงานย่อย 4 โครงการ  ใช้เวลาโครงการละ 2สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องตั้งปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา
 สรุป
จาก การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนแบบนี้ผู้เรียนจะได้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม การทำงานเพื่อประโยชน์ต่อคนอื่น การทำงานแบบรวมกลุ่ม ทำงานเป็นทีม เป็นการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีการวางแผน คิดวิเคราะห์ ใช้การสื่อสาร การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รู้จัดขจัดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการบริหารจัดการตนเอง และทีมงาน เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งในอนาคตการทำงานต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะได้พบจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ ซึ่งอาจมีขั้นตอนรายละเอียดมากขึ้น แต่ผู้เรียนก็สามารถทำงานเหล่านั้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับงาน ที่ทำได้อย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น