หน่วยที่1

หน่วยที่1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี เเละสารสนเทศ

 
นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่านวกับ กรรม
ซึ่ง นว หมายถึง ใหม่ 
และ กรรม หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวกรรม หรือนวตกรรม หรือว่า นวัตกรรม ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน  และสามารถแปลตรงตามความหมายก็คือ การกระทำใหม่ ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนั้นๆมากยิ่งขึ้น   
นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
                นวัตกรรม หมายถึง การนำความคิดมาทำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขึ้นมา หรือ การนำเอาของที่มีอยู่ก่อนแล้ว มาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
                ระยะที่ 1. มีการประดิษฐ์คิดค้น
                ระยะที่ 2. มีการพัฒนา
                ระยะที่ 3. การนำเอาไปปฎิบัติ
                หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์พิจารณาสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมไว้ดังนี้
                1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือสิ่งใหม่บางส่วน
                2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการและผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
                3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
                4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
ประเภทของนวัตกรรม
 -นวัตกรรมมี  ประเภท  คือ
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
2. นวัต กรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน  อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต  แต่นำมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดี ขึ้น
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )
                นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
- แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ
- การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด
- การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้
- พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการศึกษาหรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนาให้มีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไป
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์
- เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษา  5 ประเภทดังนี้
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน 
3. นวัตกรรมสื่อการ                          
4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล 
             5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ 
                เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะของเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
                1.กระบวนการ
                2.ผลผลิต
                3.ผสมของกระบวนการและผลผลิต
ประโยชน์ของเทคโนโลยีทั่วไป
               1 ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวณ
                2 เพิ่มความสะดวกสบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
                3 เป็นแหล่งความบันเทิง
                4 ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น
                5 ลดต้นทุนการผลิต
                6 ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                7 ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ
                8 ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
                9 ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
                10 ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
                11 ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ
โทษของเทคโนโลยีทั่วไป
                1 สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
                2 เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม
                3 ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
                4 ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
                5 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
                6 หากใช้เว็บไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น สารสนเทศ หมายถึง เนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตได้
                ลักษณะสารสนเทศที่ดีเนื้อหาความสมบูรณ์ครอบคลุมความสัมพันธ์กับเรื่อง มีความถูกต้องความเชื่อถือได้การตรวจสอบได้ รูปแบบชัดเจน ระดับรายละเอียด รูปแบบการนำเสนอ สื่อการนำเสนอ ความยืดหยุ่น ประหยัดเวลา ความรวดเร็วและทันใช้ การปรับปรุงให้ทันสมัย มีระยะเวลา กระบวนการ ความสามารถในการเข้าถึงการมีส่วนร่วม การเชื่อมโยง
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่างๆ
                1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
                2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ
                3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
                4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
                5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
                6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น